วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนวทางอาหารสำหรับคนอเมริกัน 2015-2020 ตอนที่ 2

     "แนวทางอาหารสำหรับคนอเมริกัน 2015-2020" ได้สรุปแนวทางไว้ 5 ประการ
     1. ดำเนินแบบแผนการรับประทานอาหารสุขภาพ (a healthy eating patterns) ตลอดชีวิต เน้นความสำคัญของประเภทอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด เลือกการรับประทานอาหารที่ให้แคลอรี่ที่สามารถดำรงนำ้หนักตัวให้อยู่ในสภาวะของสุขภาพที่ดี (healthy weight) ให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
     2. เน้นความต้องการสารอาหารที่หลากหลาย ทั้งประเภท และปริมาณ ให้เพียงพอกับความต้องการของแคลอรี่เฉพาะแต่ละคน เลือกอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ในทุกกลุ่มอาหารตามจำนวนที่ควรได้รับที่กำหนดไว้ในความต้องการสารอาหาร
     3. จำกัดการรับประทานน้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และเกลือ  เลือกอาหารที่มีการเติมน้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และเกลือน้อย ในประเภทอาหารที่เหมาะกับแบบแผนการรับประทานอาหารสุขภาพ
     4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ โดยคำนึงถึงวัฒนธรรม และความต้องการของแต่ละบุคคล เพื่อให้การเลือก และการปรับเปลี่ยนนี้ สำเร็จ และดำรงตลอดไป
     5. ส่งเสริมแบบแผนการรับประทานอาหารสุขภาพให้กับทุกคน  ตระหนักถึงการริเริ่ม และสนับสนุนแบบแผนอาหารสุขภาพไปทั่วประเทศ จากบ้าน สู่โรงเรียน ที่ทำงาน และชุมชน

     ข้อแนะนำหลัก (Key Recommendations):
     แบบแผนการรับประทานอาหารสุขภาพอาหารและเครื่องดื่มในปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสม ประกอบด้วยอาหารต่อไปนี้

  • อาหารประเภทพืชผักทั้งหลาย ทั้งผักสีต่างๆ พืชประเภทฝักถั่ว และประเภทแป้ง
  • ผลไม้ โดยเฉพาะที่เป็นทั้งผล (whole fruits)
  • ประเภทเมล็ดต่างๆ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งไม่ได้ผ่านการขัดสี (whole grains)
  • นมและผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากไขมันหรือไขมันต่ำ เช่น นมสด โยเกิร์ต ชีส รวมทั้งนมถั่วเหลือง
  • กลุ่มอาหารโปรตีน ที่รวมอาหารทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน (lean meats) เป็ดไก่ ไข่ เมล็ดถั่ว และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง
  • น้ำมัน (oils)

     จำกัดอาหารต่อไปนี้

  • ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ (trans fat), น้ำตาล, เกลือ

     อาหารที่ต้องจำกัดปริมาณเหล่านี้ ถือเป็นความสำคัญระดับสาธารณสุขแห่งชาติ และกำหนดเป็นจำนวนที่บุคคลสามารถนำไปปฏิบัติตามปริมาณความต้องการแคลอรี่ตนเอง

  • น้ำตาลห้ามเติมเกิน 10% ของแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวัน
  • ไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 10% ของแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวัน
  • เกลือน้อยกว่า 2,300 มิลลิกรัม (2.3 กรัม) ต่อวัน
  • อัลกอฮอล์ทุกประเภท ควรดื่มในปริมาณปานกลาง ในผู้หญิงไม่เกิน 1 ดริ๊งค์ต่อวัน ผู้ชายไม่เกิน 2 ดริ๊งค์ต่อวัน โดยภายใต้กำหนดของกฎหมาย รวมทั้งข้อจำกัดด้านสุขภาพ เช่น หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น


     แนวทางฯ นี้ไม่ใช่มีเรื่องอาหารอย่างเดียว ยังได้ให้ "ข้อแนะนำหลัก" ของ "แบบแผนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ" (Health physical acitivity patterns) ด้วย โดยระบุว่า
     นอกจากแบบแผนการรับประทานอาหารสุขภาพแล้ว ควรต้องดำเนินตาม "แนวทางการออกลังกายเพื่อสุขภาพของคนอเมริกัน" (Physical Activity Guidelines for Americans)  การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งต่อการรักษาสุขภาพ ในผู้ใหญ่ควรออกกำลังกายระดับปานกลาง อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์ (หรือคิดเป็น 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์) และออกกำลังกายแบบเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ (เช่นยกน้ำหนัก) อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์  ในเด็กหรือเด็กหนุ่ม อายุระหว่าง 6-17 ปี ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ทั้งแอโรบิก เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ และยืดกระดูก  การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยคงน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนขึ้น หรือช่วยลดน้ำหนักได้เมื่อร่วมกับการควบคุมอาหาร  มีหลักฐานทางวิชาการเชิงประจักษ์ชัดเจนว่า การออกกำลังกายสม่ำเสมอลดการตายก่อนวัยอันควร ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจโคโรนารี่ (โรคหัวใจขาดเลือด) สโตร๊ค (โรคหลอดเลือดสมอง) ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ เบาหวานประเภทที่ 2 กลุ่มอาการเมตะบอลิค ตลอดจนมะเร็งเต้านม และลำไส้ใหญ่  นอกจากนี้ ยังมีผลดีต่ออารมณ์และจิตใจ ลดภาวะซึมเศร้า และการพลัดตกหกล้ม  บุคคลควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอตามวิถีทางที่ตัวเองชอบและความถนัด

     ยังมีรายละเอียดอีกมากครับ ยังไม่จบ จะทะยอยลงต่อครับ ช่วยกันติดตามด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น