วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล....ข้อเท็จจริงจากงานวิจัย

สารให้ความหวานแทนน้ําตาล....ข้อเท็จจริงจากงานวิจัย

        ปีใหม่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว หลายท่านคงได้ต้อนรับปีใหม่อย่างสนุกสนานรื่นเริง พร้อมกับการนับถอยหลัง ด้วยรูปแบบต่างๆ ตรุษจีนก็กําลังตามมาเร็วๆนี้ ทําให้นึกถึงวันไหว้ของประเพณีจีน ที่มีการไหว้เทพเจ้า และ บรรพบุรุษ และประเพณีการรับประทานอาหารอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันของคนในครอบครัว ตามด้วยบรรยากาศอันสดใสของวันเที่ยว และความตื่นเต้นของการได้รับอั่งเปา
        งานฉลองเทศกาลต่างๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องการกินและดื่ม และเหมือนกันเช่นทุกครั้ง ที่เป็นข้ออ้างของผู้ที่เป็นเบาหวาน เมื่อน้ําตาลในเลือดสูงขึ้น หลายคนเลี่ยงการได้รับน้ําตาลมากเกินไป ด้วยการดื่มเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ําตาล (artificial sweeteners) ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปแบบ แม้กระทั่งในชีวิตประจําวัน หลายคนก็ใช้ หรือดื่มสารทดแทนน้ําตาล จนเป็นนิสัย เพื่อไม่ให้น้ําตาลในเลือดสูงขึ้น หรือหวังลดน้ําหนัก

        ข้อเท็จจริง...สารให้ความหวานแทนน้ําตาล ให้ประโยชน์ตามที่ต้องการหรือไม่?

        นายแพทย์ริชาร์ด ยัง (Dr. Richard Young) จากมหาวิทยาลัยแอดีเลด (University of Adelaide) ออสเตรเลีย ได้นําเสนอผลงานของเขา ในที่ประชุมวิชาการด้านเบาหวาน (The European Association for the Study of Diabetes – EASD) ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เมื่อเดือนกันยายน 2017 นี้ เกี่ยวกับสารให้ ความหวานแทนน้ําตาลมีผลอย่างไรต่อการดูดซึมของน้ําตาลในทางเดินอาหาร
        สารทดแทนน้ําตาล (น้ําตาลเทียมที่ให้พลังงานต่ําหรือไม่ให้พลังงานเลย) ใช้กันอย่างแพร่หลายใน เครื่องดื่มต่างๆ (Diet drinks) รวมทั้งผสมในของหวานและขนม นายแพทย์ริชาร์ด ยัง ได้ศึกษาในอาสาสมัครที่มี สุขภาพปกติ และไม่ได้ใช้สารทดแทนความหวานมา 60 คน อายุเฉลี่ย 27 ปี ดัชนีมวลกาย 24 กก./ตร.. (ไม่อ้วน) ในจํานวนนี้เป็นผู้ชาย 14 คน ก่อนเริ่มต้นทดลอง อาสาสมัครทุกคน หลังจากอดอาหารมาทั้งคืน จะได้รับการสองกล้องกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) และให้กลูโคส (30 กรัม/150 มล.) ทางสายยางเข้าลําไส้เล็กส่วนต้น และวัดการดูดซึมกลูโคส ระดับกลูโคสในเลือดหลังจากได้รับกลูโคส ระดับอินซูลิน และฮอร์โมนจากลําไส้เล็ก ซึ่งมี 3 ตัว คือ GIP (Glucose-dependent insulinotropic polypeptide), GLP-1 และ 2 (Glucagon-like peptide 1 และ 2)

(หมายเหต:ฮอร์โมนทั้ง 3 ตัวนี้ สร้างที่ลําไส้เล็ก ถูกปล่อย ออกมาเมื่อมีอาหารตกถึงกระเพาะ และจะเข้าสู่กระแสเลือด ไปออกฤทธิ์ที่ตับอ่อน กระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา และลดการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอน เพื่อตอบสนองต่อน้ําตาในเลือดที่สูงขึ้น หลังรับประทานอาหาร)

        การศึกษานี้แบ่งผู้สมัครเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลอ(17คน) ให้รับประทานสารทดแทนน้ําตาลที่จัดทําในรูปแคปซูล (ประกอบด้วย sucralose และ acesulfame-K ซึ่งพบในเครื่องดื่มเป็นส่วนใหญ่) โดยให้รับประทาน 3 เวลาก่อนอาหาร (เทียบเท่ากับดื่ม diet drinks 1.2-1.5 ลิตร) เป็นเวลา 2 สัปดาห์ อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มเปรียบเทียบ (control group) (16 คน) ให้รับประทานสารเลียนแบบ (หรือยาหลอก - placebo) วิธีการวิจัยเป็นแบบสุ่มตัวอย่าง (randomized) ปกปิดทั้งสองทาง (double-blind) และคู่ขนาน (parallel trials) เมื่อครบสองสัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการประเมิน และการวัดเช่นเดียวกับครั้งแรก
        การวัดการดูดซึมกลูโคส ระดับน้ําตาลในเลือด ฮอร์โมนอินซูลิน และฮอร์โมนลําไส้เล็ก ในครั้งแรกก่อนเริ่มการทดลอง ไม่พบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่ม หลังจากการทดลองครบ 2 สัปดาห์ เมื่อวัดค่าต่างๆอีกครั้ง ผลปรากฎว่า
        การดูดซึมกลูโคสในนาที 90 และ 120 หลังจากได้รับกลูโคกลุ่มทดลองมีการดูดซึมน้ําตาลสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 20% (P<.05) ระดับน้ําตาลในเลือด กลุ่มทดลองก็สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 24% (P<.05)
        ในการศึกษาการตอบสนองของฮอร์โมนพบว่า อินซูลิน, GIP, และ GLP-2 ตอบสนองต่อกลูโคสใน ลําไส้เล็กไม่แตกต่างกัน แต่ระดับขอGLP-2 และอินซูลิน ลดต่ําลงในกลุ่มทดลอง (37%, P<.05) ในนาทีที่ 40 และ 60 ตามลําดับหลังได้รับน้ําตาล ขณะที่การตอบสนองของ GLP-1 ต่อน้ําตาลในลําไส้เล็กต่ําลง 34% ใน กลุ่มทดลอง เมื่อเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ

(หมายเหต:GLP-1 เป็นฮอร์โมนสําคัญจากลําไส้เล็กในการช่วยลดน้ําตาลหลังอาหาร เมื่อมีอาหาร ตกถึงกระเพาะ โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง น้ําตาล กรดไขมัน ใยอาหาร ลําไส้เล็กจะถูกกระตุ้นให้หลั่ง ฮอร์โมนนี้ออกมา ในคนที่เป็นเบาหวาน ระดับ GLP-1 จะลดต่ําลง ในปัจจุบันมียาเบาหวานหลายตัวที่เกี่ยวข้องกับการเสริมฤทธิ์ GLP-1 หรือสังเคราะห์ GLP-1 โดยตรง)

        Dr Young ได้ให้ความเห็นว่า การบริโภคน้ําตาลเทียมเป็นประจํา มีผลเปลี่ยนแปลงระบบการควบคุม น้ําตาลของร่างกาย และทําให้น้ําตาลหลังอาหารสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดเบาหวานในอนาคต  ผลการศึกษานี้ คงจะนําไปสู่งานวิจัยที่ใหญ่ขึ้น และก้าวหน้ามากขึ้นต่อไป

        การศึกษานี้ ได้ให้ข้อคิดเห็นอะไรบ้าง
  1. สารให้ความหวานทดแทนน้ําตาล หรือน้ําตาลเทียม ถ้าบริโภคเป็นประจําและต่อเนื่อง มีผลทําให้ ระบบการควบคุมน้ําตาลในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป อาจเป็นผลจากการที่ฮอร์โมนจากลําไส้เล็ก โดยเฉพาะ GLP-1 ลดลง ไปลดการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินหลังอาหาร ทําให้อินซูลินหลั่งน้อยลง ขณะที่กลูคากอน (ทําให้น้ําตาลในเลือดสูงขึ้น) ไม่ลดลง น้ําตาลในเลือดหลังอาหารจึงสูงขึ้นกว่าผู้ทไม่ได้ใช้น้ำตาลเทียม
  2. ลักษณะที่น้ําตาลหลังอาหารสูงขึ้น และ GLP-1 ลดต่ําลง คล้ายกับที่พบในภาวะก่อนเบาหวาน (pre-diabetes) แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า น้ําตาลเทียมทําให้เกิดเบาหวานในอนาคต
  3. น้ําตาลที่สูงหลังอาหาร มีผลกระทบที่สําคัญต่อระดับของ HbA1c (ค่าน้ําตาลสะสม หรือค่าน้ําตาลเฉลี่ยที่ใช้ในการวินิจฉัย และประเมินการรักษาเบาหวาน) ผู้ที่เป็นเบาหวานที่คิดว่า การใช้ น้ําตาลเทียมเพื่อช่วยลดน้ําตาลในเลือด อาจจะไม่ได้มีส่วนช่วยลด HbA1c
  4. การใช้สารให้ความหวานแทนน้ําตาล โดยมุ่งหวังลดการบริโภคน้ําตาล เพื่อหวังลดน้ําหนัก แต่ถ้า มีผลต่อน้ําตาลหลังอาหารที่สูงขึ้น และการตอบสนองของ GLP-1 ลดลง อาจจะไม่มีผลต่อการลดน้ําหนักตามที่ต้องการ
        ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ําตาลมีอยู่รอบตัวเรา แต่ละคนย่อมมีบริโภคนิสัย และเหตุผลที่จะเสพแตกต่างกันไป แต่ทุกอย่างย่อมต้องมีการประเมิน และติดตามผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในแง่บวกและลบ ถ้ายึดหลักของสุขภาพ การบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ และพอประมาณ ก็มีส่วนช่วยหลีกเลี่ยงที่จะได้รับสารที่ฟุ่มเฟือยไม่จําเป็นให้น้อยลงได้

เอกสารอ้างอิง:
        European Association for the Study of Diabetes (EASD) 2016 Annual Meeting. September 14, 2017, Lisbon,
Portugal. Abstract 193